วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
                การเกิดและสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ ออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 สรุปได้ดังนี้
                1. เนื่องจากในคาบเดียวกันประกอบด้วยโลหะ( ทางซ้าย ) กึ่งโลหะ และอโลหะ( ทางขวา ) แต่ละธาตุมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากัน ดังนั้นการเกิดสารประกอบของธาตุในคาบเดียวกันจึงต่างกันและสารประกอบที่ได้ส่วนใหญ่มีสมบัติต่างกัน

                2. อโลหะซึ่งอยู่ทางขวาทำปฏิกิริยากับธาตุชนิดหนึ่งเกิดสารประกอบได้หลายชนิด จึงทำให้มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ส่วนธาตุโลหะซึ่งอยู่ทางซ้าย เมื่อทำปฏิกิริยากับอโลหะชนิดหนึ่งมักเกิดสารประกอบได้ชนิดเดียว จึงทำให้มีเลขออกซิเดชันได้เพียงค่าเดียว  อ่านต่อ

บทที่ 2 พันธะเคมี

ความหมายและการเกิดพันธะเคมี
        พันธะเคมี  คือ  แรงยึดเหนี่ยวทีอยู่ระหว่างอะตอมซึ่งทำให้อะตอมต่าง ๆ เข้ามาอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลได้  การสร้างพันธะเคมีของอะตอมเกิดขึ้นได้  เนื่องจากอะตอมต้องการจะปรับตัวให้ตนเองมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8  หรือให้ใกล้เคียงกับการครบ 8 ให้มากที่สุด  (ตามกฎออกเตต)  ดังนั้นจึงต้องอาศัยอะตอมอื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยให้อิเล็กตรอนเข้ามาเสริม  หรือเป็นตัวรับเอาอิเล็กตรอนออกไป  และจากความพยายามในการปรับตัวของอะตอมเช่นนี้เองที่ทำให้อะตอมมีการสร้างพันธะเคมีกับอะตอมอื่น ๆ  อ่านต่อ


บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ

  อะตอม คือหน่วยที่เล็กที่สุดของสสารที่ยังคงสภาพความเป็นสสารอยู่ได้
      แบบจำลองอะตอม ตามทฤษฏี มีอยู่  5 แบบ  คือ
           1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
          2.   แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
          3. แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด 
         4.  แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์ 

         5.แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก  อ่านต่อ